เมนู

5. วชิรสูตร



ว่าด้วยผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า - ฟ้าแลบ - เพชร



[464] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล 3
เป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผล บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้า
บุคคลมีจิตเหมือนเพชร

ก็บุคคลมีจิตเหมือนแผลเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธมีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้าย และความเดือดดาลให้ปรากฏ
เหมือนอย่างแผลร้าย ถูกไม้หรือกระเบื้องเข้าก็ยิ่งมีหนองไหลฉันใด บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้ายและความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น
นี่ เราเรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนแผล
ก็บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้าเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์
... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหมือนอย่างคนตาดี พึงเห็นรูปทั้งหลาย
ได้ในระหว่างฟ้าแลบในกลางคืนมืดตื้อฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริง
ว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ฉันนั้น นี่ เราเรียกว่าบุคคล
มีจิตเหมือนสายฟ้า

ก็บุคคลมีจิตเหมือนเพชรอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลลางคน
ในโลกนี้ กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะ
มิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี้

เหมือนอย่างแก้วหรือหินที่ไม่ถูกเพชรเจาะเสียเลยย่อมไม่มีฉันใด บุคคลลางคน
ในโลกนี้กระทำให้แจ้ง ฯลฯ ในปัจจุบันนี่ฉันนั้น นี้เราเรียกว่าบุคคลมีจิต
เหมือนเพซร

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก.
จบวชิรสูตรที่ 5

อรรถกถาวชิรสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวชิรสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อรุกูปมจิตฺโต ได้แก่ มีจิต เช่นกับแผลเรื้อรัง. บทว่า
วิชฺชูปมจิตฺโต ได้เเก่ มีจิตเช่นกับสายฟ้า เพราะส่องสว่างชั่วเวลาเล็กน้อย.
บทว่า วชิรูปมจิตฺโต ได้แก่มีจิตเช่นกับเพชร เพราะสามารถทำการโค่น
รากเง่าของกิเลสทั้งหลายได้. บทว่า อภิสชฺชติ แปลว่า ข้องอยู่. บทว่า
กุปฺปติ แปลว่า ย่อมกำเริบ ด้วยสามารถแห่งความโกรธ. บทว่า พฺยาปชฺชติ
ความว่า ละสภาพปกติ คือเป็นของเน่า. บทว่า ปติตฺถิยติ ได้แก่ย่อมถึง
ความหงุดหงิด คือความกระด้าง. บทว่า โกปํ ได้แก่ ความโกรธมีกำลังทราม.
บทว่า โทสํ ได้แก่ โทษะ ที่มีกำลังมากกว่าความหงุดหงิดนั้นด้วยสามารถ
แห่งความประทุษร้าย. บทว่า อปฺปจฺจยํ ได้แก่โทมนัส ที่เป็นอาการแห่ง
ความไม่พอใจ.
บทว่า ทุฏฺฐารุโก ได้แก่แผลเรื้อรัง. บทว่า กฏเฐน ได้แก่
ปลายไม้เท้า. บทว่า กถเลน ได้แก่ กระเบื้อง. บทว่า อาสวํ เนติ ได้แก่
ไหลติดต่อกันไป. อธิบายว่า แผลเรื้อรังจะหลั่งออกซึ่งของ 3 อย่างนี้คือ
หนอง เลือด และเยื่อ ตามธรรมดาของตนอยู่แล้ว แต่เมื่อถูกกระทบเข้า